ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ technical analysis

การ วิเคราะห์ volatility ของราคาด้วย Average True Range (ATR)

Volatility คือ ค่าความผันผวน ที่คำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า เป็นข้อมูลมีไม่คงตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามช่วงเวลา หรือบน Time series ค่า volatilitั จะมีการเพิ่ม การลด ได้ตลอด  โดยเฉพาะกรณีที่ภาวะตลาดไม่ปกติ หรือปัจจัยพิเศษเข้ามา ซึ่งสำหรับวิธีการคำนวณ Volatility หลากหลายวิธี โดย ATR เป็นโมเดลการคำนวณค่า volatility อีกรูปแบบหนึ่ง เรียนรู้การวิเคราะห์จาก https://www.youtube.com/watch?v=dngNllTmIa8

On Balance Volume (OBV)

สัปดาห์นี้จะมาต่อ lecture ด้านการเทรดให้(หลังจากหยุดไปนาน), ดังนั้นวันนี้มาสอนเรื่องการวิเคราะห์โมเมนตรัมและกำลังของตลาด ด้วย On Balance Volume (OBV) เครื่องมือธรรมดา ที่เอาไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย  โดย On Balance Volume (OBV) พัฒนาโดย Joe Granville เผยแพร่ในปี 1963 ตีพิมพ์ลงหนังสือ New Key to Stock Market Profits เครื่องมือประมวลผลข้อมูลราคา(Price) ร่วมกับ Volume เพื่อหาค่า บ่งบอกระดับ แรงดันฝั่งซื้อและขาย (Buy/Sell Pressure) -ใช้วัดกำลังของ Momentum ในข้อมูลราคา, และสามารถใช้ประยุกต์การเทรด Momentum Trading ได้ เข้าฟังได้ที่ https://youtu.be/vgxWz-m9-kc

Volume Weighted Average Price(VWAP)

  เมื่อวานเขียนบันทึกถึง ARKK แสดงกราฟราคาด้วย VWAP มีคนถามเข้ามาเยอะว่า ใช้งานยังไงวิเคราะห์อย่างไร วันนี้ผมเลยทำคลิปสอนการใช้งานเครื่องมือ Volume Weighted Average Price(VWAP) ซึ่งเป็นเหมือนเครื่องมือสารพัดประโยชน์ในการวิเคราะห์ market condition โดยผมสาธิตการใช้งานบน Trading View ให้ดูด้วยจะได้นำไปใช้งานได้ง่าย โดยบน TV สามารถใช้ได้ทั้ง VWAP. VWAP Band และ MVWAP ซึ่งทำให้ค่อนข้างหยืดหยุ่นในการนำไปใช้เพื่อการเทรดกลยุทธ์ต่างๆต่อไป ลองเข้าฟังบรรยายได้ที่ https://youtu.be/8q7PDghoRVY

Market Profile & Volume Profile

  พอดีได้ไปตอบคำถาม แชร์ประสบการณ์การใช้งานโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูล Market Profile & Volume Profile มาคิดว่าหลายคนน่าจะประโยชน์สำหรับคนอยากลองศึกษา เลยเอาคอมเมนต์มาแปะเก็บไว้ เริ่มต้นคงต้องแยก 2 เรื่องออกจากกันก่อนครับ Market Profile กับ Volume profile นั้นแตกต่างกันในด้านการใช้ data แต่วิธีคิดการวิเคราะห์คล้ายกัน คือดูการกระจายตัว หรือ distribution ของ market activity ในกรอบเวลาที่สนใจเช่น ภายในวัน โดยหลักการพื้นฐานคือการจำแนกลักษณะการกระจายตัวของ พฤติกรรมราคา แบบความเป็นปกติ(normal dis)และความไม่ปกติ ด้วยการ plot การกระจายตัวผ่านกราฟ histogram เป็น chart ที่ไม่ใช่ time series แบบกราฟราคาทั่วไป 1. Market Profile นี้ของ J. Peter Steidlmayer ลิขสิทธิ์ของ CBOT ดูพฤติกรรมตลาดในกรอบ day ตัวนี้ในหนังสือ Technical Analysis ของ John Murphy สอนไว้ละเอียดเลย อ่านตามนั้นได้ สรุปสั้นๆ ใช้ตัวอักษร A,B,C,D เป็นตัว marker นับ เพื่อดูการกระจายของราคาใน price level ต่างๆ ตามโมเดลของ CBOT ส่วนการนับ TPOหรือเลือกข้อมูลราคา นั้นจะมาร์คอักษร ทำความถี่การสังเกตทุก 30นาที ถ้าราคา TPO ซ้ำโซน Price level

The science of technical analysis vs. the art of trading

กำลังเตรียมวัตถุดิบในการเขียนหนังสือเล่มใหม่ เลยกลับไปฟังคลิป chatwithtraders เขานำคุณ Brian Shannon แห่ง Alpha Trends เทรดเดอร์ & นักวิเคราะห์ทางเทคนิค CMT ผู้มีประสบการณ์ในตลาดหุ้นมากกว่า 20 ปี มาพูดคุยหัวข้อ The science of technical analysis vs. the art of trading ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับเทรดเดอร์ทั้งมือใหม่ มือเก่า ผมเลยแชร์โน๊ตสรุปมาให้ครับ 1.เส้นทางการเป็นเทรดเดอร์ -เริ่มต้นสนใจตลาดหุ้นช่วง high school เขาช่วยพ่อหาข้อมูลและนั่งอ่านนิตยสารหุ้นด้วยกัน - ตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็มีโอกาสได้เทรดทำกำไรจากตลาดหุ้นได้หลายพันเหรียญ มันยิ่งทำให้เขาอยากศึกษาอยากเรียนรู้เรื่องหุ้นมากขึ้น - เรียนจบมหาวิทยาลัย เขาเลือกทำงานเป็น stock broker ให้กับบริษัทโบรกเกอร์แห่งหนึ่งด้วย ความอยากสัมผัสและเรียนรู้จักตลาดหุ้นมากขึ้น - เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นหลายปีและมีโอกาสย้ายไปทำงานกับโบรกเกอร์ขนาดใหญ่อย่าง leaman brother เขาก็เริ่มหันมาศึกษาเรื่องของกราฟเทคนิคอลจริงจัง - 1998 พอมีโอกาสมาเขาก็เปลี่ยนงานมาเป็น Prop Trader ให้กับ Generic Trading, LLC ในนิวยอร์ค เพราะด้วยต้องการเงินทุนมาเทรด รวมถึงมีการแบ่

The Retail FX Trader: Rising Above Random

เมื่อวานมีติวน้องเทรดเดอร์ เขากำลังปั้นพอร์ตFX เพื่อแข่งของโบรเกอร์เจ้าหนึ่ง ผมนำ paper ชื่อ The Retail FX Trader: Rising Above Randomไปแนะนำ ให้อ่านคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเทรดเดอร์ท่านอื่นด้วย ผมเลยอยากมาแชร์ไว้ในเพจ paper นี้พูดถึงหลายประเด็นในการทำกลยุทธ์การเทรด FX โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ technical analysis มีการทดลองหลายตัวอย่างกับข้อมูลย้อนหลัง 9 ปีกับ 4 ค่าเงินหลัก(AUDUSD,EURUSD,USDJPY,GBPUSD) ในภาวะตลาดต่างๆให้เห็นถึงข้อจำกัดในการใช้ technical analysis ในตลาดปัจจุบันืั้มีความไม่แน่นอนจากปัจจัยเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง ผู้วิจัยไม่ได้พยายามบอกว่า Retail FX Trader ไม่ควรใช้ TA ตรงข้ามผลการทดลองแนะนำว่า ควรสร้างระบบตัดสินใจ ดีกว่าการตัดสินใจแบบ random ไปตามอารมณ์ ขณะเดียวกัน ระบบการตัดสินใจจะใช้ TA หรือใช้ Rule ทั่วไปก็ได้ แต่ต้อง commit ในแผนเพื่อวัดผลระยะยาว ด้านกลยุทธ์การจัดการเงินที่เหมาะสม reward to risk ratio เพิ่มความยืดหยุ่นด้าน time ในการถือครองออร์เดอร์ ซึ่งการทดสอบพบเพิ่มประสิทธิภาพของผลตอบแทน ในขณะเดียวกันต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะการห

มุมมองการใช้เครื่องมือ Technical Analysis จาก Jeffrey Gundlach

มุมมองเรื่องการใช้เครื่องมือ Technical Analysis จากนักลงทุนรุ่นเก๋า ประสบการณ์สูงกว่า 35 ปีและมีชื่อเสียงอย่างมากโดยเฉพาะตลาดพันธ์บัตรอย่าง คุณ Jeffrey Gundlach ซึ่ง เป็น CIO และผู้บริหาร investment firm ชื่อ Double Line Capital โดยสรุป Gundlach กล่าวว่าเขาเองก็ใช้การวิเคราะห์ราคาจาก Technical Analysis แต่เหมือนทราบกันว่ามันไม่ได้ 100% ในทุกภาวะตลาด( work some of the time and fail some of the time) คุณ Jeffrey Gundlach เขาเน้นใช้เครื่องมือเทคนิคอลลักษณะการพิจารณา Demand  Supply รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงราคา asset บนระดับแนวรับ แนวต้าน ผสานไปกับการพิจารณาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเศรษฐกิจประกอบ โดยเขาเน้นใช้ เทคนิคอลในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนต่ำบนสภาวะที่แน่นอน ภาวะตลาดที่ technical analysis ทำงานได้ดี 70% คือช่วงที่สัญญาณที่เกิดมันสอดรับกับภาวะเชิง sentiment It works when the market’s resistance and support levels are “in sync” with sentiment signals, When those things marry together, “technical analysis works 70% of the time.” ปล. นำมาแชร์เพื่อจะได้เปิดมุมมอง และทำให้ตระหนัก

Why technical analysis fail to work

ผมมีโอกาสได้คุยกับเทรดเดอร ์หลายท่าน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีคำถามเยอะมาก ว่า technical analysis มันใช้งานได้อยู่ไหม? ผมเองก็ยังยืนยันคำตอบเดิมว ่ามันใช้งานได้ ถ้าเราใช้เป็นใช้อย่างเข้าใ จ จริงๆไม่ค่อยแปลกที่หลายคนเ จอปัญหา เพราะ 80% ของสายใช้เทคนิคอลปกติ มันไปทาง trend flowing หรือ momentum trading พอตลาดมันขาดโมเมนตรัมหรือผ ันผวนจากภาวะเศรษฐกิจ ปัญหามันเกิดทันที ยิ่งถ้าใครใช้แบบมโนศาสตร์ หรือขาดความเข้าใ จดีพอ พฤติกรรมราคา พฤติกรรมตลาดที่ไม่ปกติ มันทำให้เกิดการเสียหายขาดท ุนได้เยอะ คำแนะนำอีกอย่างของผมคือ อยากให้เทรเดอร์หันมาใช้ เทคนิคอลแบบเป็นวิทยาศาสตร์  หัดเรียนรู้ หัดทดสอบ ทดลอง และปรับปรุงวิธีการใช้งานให ้เหมาะสมได้ด้วยตัวเอง อย่าติดกับตำราเก่าๆ เกินไป บางเรื่องมันถูกคิดมันถูกสร ุปมาตั้งแต่ยุค 1990 -2000 อาจจะเป็นจริง สมเหตุสมผลในตอนนั้น แต่ตลาดปัจจุบันไม่ว่าจะตลา ดหุ้น ตลาดค่าเงิน ตลาดทองคำ ตอนนี้มันเปลี่ยนไปมากแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของขนาดเม็ดเ งิน เรื่องของกลยุทธ์ที่ซับซ้อน ขึ้น(Algorithmic trading /  HFT) และเรื่องของระดับค่า volatility ของราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นจาก อดีตมาก ดัง

Candlestick Pattern Recognition

จากเทปบรรยาย ผมเล่าว่าจริงๆแล้ว ทุกเครื่องมือเทคนิคอล มันสามารถจะพิสูจน์ เก็บสถิติ หาค่าความน่าจะเป็นได้ เพื่อทำให้เรา มีความเชื่อมั่นในการใช้งาน อีกประการคือ จากการทดลองของผม พบว่ามันไม่มีเครื่องมืออะไรให้ผล 100% ทำนายผลการขึ้นลงของราคา แม่นราวจับวางหรือราวโฆษณา โดยเฉพาะเครื่องมือประเภท art หรือท่องจำรูปแบบ ผมเอาอีกงานมาแชร์ให้ดู เพื่ออยากให้เห็นว่าโลกการเทรดต่างประเทศมันพัฒนาไปมากเพียงใด งานด้านนี้จะพบ แนวคิดหรือเครื่องมือ รูปแบบแท่งเทียนญุี่ปุ่นมันเป็นเรื่อง ที่คนถกเถียงและสนใจกันมาก กลุ่ม Developer ของ lab นี้เขาศึกษาจนชำชอง แปลรูปแบบ รูปทรงแท่งเทียน ที่เป็น geometry 2 มิติที่เราพยายามท่องจำรูปแบบกัน มาเป็น algorithm เชิงเลข จากนั้นให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มันทำงานแทนเรา ในแบบ   Pattern Recognition เพื่อหาสัญญาณซื้อขาย ดังเราจะพบว่าปัจจุบันมีหลายโปรแกรมให้บริการตรงนี้ ทั้งแบบ scan และแบบแสดง real-time ซึ่งเกือบส่วนใหญ่ จะมีพื้นฐานมาจาก TA LIB ตัว lib opensource ที่กลุ่มนักพัฒนา นิยมใช้กันมาก ตัวอย่างผลทดลอง TA Lib เป็นของดี ที่พัฒนามายาวนานมี algorithm ด้าน เทคนิคต่างๆเพ

ทำไมใช้ซื้อ EA มาใช้ถึงไม่ work ??

คำถาม ยอดฮิต สัปดาห์นี้มีคนถามมา 4 ขอสรุปตอบ ทีเดียวเลย ตรงที่จากประสบการณ์คลุกคลีกันมาหลายปี  ผมมีข้อสังเกตหนึ่งมาให้ลองศึกษานะครับ คือถ้าเรา download หรือซื้อ EA แบบราคาถูกมาใช้เราจะเห็นว่า ค่าสถิติมันดูดีมาก แต่พอมาใช้จริงมันกับห่วย เทคนิคหนึ่งที่พวกนี้นิยมใช้งานคือการ ทดสอบกับ ขนาดเงินทุนที่ใหญ่หลัก 10000 us แต่ใช้ position size ที่เล็ก เพื่อทำให้ค่า loss ดูไม่มาก ค่าออกมาดี เงินมาก ก็ทดกับ DD หลัก 10000 us ได้ ไม่มีปัญหา stop out บวกกับการ hold ขาดทุนกาง stop loss ให้กว้างๆหรือไม่มี Stop loss รอมันรีเทรินกลับ ตรงนี้ทำให้ค่า balance profit ออกมาดูดี %win สูง แต่ถ้าเราเอาระบบเดียวกันไป run กับเงินที่น้อยกว่า เช่นหลัก 1000 500 us ผลค่าที่ได้ต่างกันชัดเจนเลยครับ อีกประการ EA พวกนี้ที่โชว์บางทีมีการแต่ง Data ให้ดีเวอร์ บ้างรันแค่ 5 ปี 10 ปี บน timeframe เล็กแค่หลักพัน record (เทรดน้อยสุ่มน้อยไม่สมจริง) แต่ทำให้โครตเทพ กำไรหลาย 1000% ถ้าทดสอบเพื่อความแน่นอน ลองให้รัน 1-2 เดือน ที่ใกล้กับสถานการณ์ปัจจุบันครับ กำหนดจำนวน order ให้มากกว่า 100 ขึ้น ถ้าไม่ผ่าน แปลว่า bullshit ยังทำม

Parabolic SAR

เรียนรู้ เครื่องมือเทคนิคอล สารพัดประโยขน์ Parabolic SAR - ต้นกำเนิด วิธีคิค คำนวณ -จุดแข็งจุดอ่อน -การประยุกต์ใช้ สัญญาณเข้าออก -การ optimization -การใช้เทคนิคแบบ 2 PAR สำหรับการ Stoploss และ trilling stop https://youtu.be/DwADpj6fB04

Volume Weighted Average Price

กลับมาเร่งงานวิจัยตัวเองต่อ ปีนี้ตั้งใจจะทำระบบใหม่และมีโปรเจคร่วมกับเพื่อนเทรดเดอร์ชาวอเมริกา เรื่องการทำระบบร่วมกัน ดังนั้น ต้องมานั่งลับสมอง เติมความรู้ เลยจับเอาหัวข้อ VWAP มาเล่นอีกรอบเพราะเป็นตัวค้างไว้เมื่อปีก่อน สืบจาก papper นี้ที่ไปอ่านเจอ ทำให้อยากลองเอามาทำ algorithm แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ต้องมาแกะโมเดลนี้ให้สำเร็จก่อน  วันนี้จะเขียนบทความรีวิวเบื้องต้นให้อ่านเกี่ยวกับ VWAP ถือว่าเป็นการทบทวนไปในตัว --------------------------------------- VWAP เป็นโมเดลที่ไม่ซับซ้อนอะไร มีใช้มานานพอควร และยังเป็นเครื่องมือเทคนิคอลที่นิยมใช้ (ตัวนี้ก็คือโมเดลเดียวกับ VWAP execution) โดยเฉพาะกลุ่ม day trader ที่ใช้เทคนิคนี้ในการ process ข้อมูลระดับ tick ใน intraday เพื่อหาระดับราคาที่เหมาะสม หรือใช้เป็นกลยุทธ์การเทรด แต่จริงๆ สามารถประยุกต์เจ้า VWAP กับข้อมูลที่หยาบ ระดับชั่วโมง หรือวันก็ได้เช่นกัน  ซึ่งมีนักพัฒนานิยม เอา VWAP มาทำเป็นตัววัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม หาคุณภาพของแนวโน้ม หรือ Trend Stength แนวคิดการทำงานของโมเดลนี้ไม่ยาก คือ กำหนด ก

Adaptive Moving Average

สัปดาห์ที่ผ่านมาทำระบบ บนกลยุทธ์ Adaptive Moving Average เลยขอเอามาสรุปให้น้องๆที่สนใจได้อ่าน  ว่าจะไม่เขียนเรื่อง quant อะไรหนักๆแล้ว แต่อดไม่ได้ material มันเยอะ เลยต้องเอามาปล่อยให้มันที่ room ในการนำเข้ามาอีกบ้าง  อีกประเด็นที่คิดเขียนเรื่องนี้ เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา มีน้องเทรดเดอร์ในกลุ่ม ThaiTrade ต้องการทำระบบ Monemturm trading system ในตลาด Gold  อันนี้จะทราบว่าทองคำนี้ผันผวน ตัวแม่ เหวี่ยงซะจน หัวทิ่มหัวตำ กันไป  ดังนั้นถ้าคิดจะใช้ lagging indicator เพื่อมา detect trend เราคงต้องหาที่มันเหมาะสมหน่อย  แต่ข้อจำกัดเดิมๆ ของ Moving average ก็คือการกดหน้า ออกหลัง กดหลังออกหน้า  ยิ่งทำให้ smooth ทำให้ lag ยิ่งช้า ไม่ทันกิน เสียโอกาส จุดเข้าออก  ยิ่งทำให้เร็ว ทำให้ไว้ ก็ยิ่งไม่เรียบ เกิด noise เกิด สัญญาณหลอกง่าย  แต่ช้าก่อน!! ปัญหาของท่านจะหมดไป เมื่อใช้ "Adaptive Moving Average"  {พยายามทำเสียให้เหมือนโฆษณาทีวีไดเรกตอนกลางคืน ดึกๆผมนั่งเทรด ดูบ่อยเลย ที่บ้านยังมีไม้ถูพื่นอัจฉริยะอยู่เลย ทุกวันนี้ไม่ได้ใช้ถู แล้ว ใช้เป็นไม้ไล่นกแทน ต่อๆๆ}  

Camarilla pivot points

สิ่งเล็กๆที่เรียกว่า Camarilla pivot points ชื่อก็บอกแล้วว่าคือ pivot point แต่สำคัญต้องไอเดียการสร้าง แนวสังเกต จากจุด pivot  ที่ประยุกต์เอา fibo มาใช้งาน ข่อดีคือ two in one ได้ใช้ทั้งสองเครื่องมือ มาวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมกันไปเลย เวลาพูดถึง pivot ให้มองลักษณะแบบ geometry ของแท่งเทียน ดูเหมือนการหา CG หรือจุดหมุน จุดหมุนบนแท่งที่ matual จุดผลักแล้วเกิดการเคลื่อน ได้ในทุกทิศการเปลี่ยนแปลงจากแรงซื้อและแรงขาย ตรงนี่แหละจะมีนัยยะมาก แล้วนำมาซึ่งการกระจายโซน เป็นแนวรับแนวต้านเฝ้าระวังจากจุด pivot Camarilla pivot points  พัฒนาคิดค้นโดย Nick Scott เขาเป็น trader ในตลาดพันธบัตร การใช้งานถ้าเป็นไปตามงานวิจัยของนิค ต้องใช้ราคาปิดระดับ Day ขึ้นไป มาคำนวณหา pivot point โดยมีหลักการคำนวณคราวๆดังนี้นะครับ  ตัวจุด pivot ใช้หลักสามัญทั่วไป คือ PP = (HIGH + LOW + CLOSE) / 3 RANGE  = (High−Low) **  C = Close ราคาปิดแท่งวันก่อนหน้า R4 = C + RANGE * 1.1/2 R3 = C + RANGE * 1.1/4 R2 = C + RANGE * 1.1/6 R1 = C + RANGE * 1.1/12 S1 = C - RANGE * 1.1/12 S2 = C -

FiboGrid

พยายามจะลดการเขียนบทความเรื่อง Quant ลงเก็บไว้สอนกันในกลุ่มเล็กๆแทน เพราะส่วนหนึ่งผมรู้สึกว่าบางทีมันยากไปที่จะอธิบาย หรือคนบางกลุ่มยังไม่เปิดใจยอมรับ ผมเองไม่มีเวลา ตอบทุกคำถามที่ตามเข้ามา อันนี้ออกตัวขออภัยกันไว้ก่อนเลย และไม่มีอะไรสำเร็จรูปแจกแบบของชำร่วยงานศพเพื่อสนอง คนที่ต้องการอะไรง่ายๆเร็วแบบนั้นถ้าอยากเข้าใจ อยากทำได้มันไม่ใช่นั่งมโน นั่งสร้างภาพว่าเข้าใจ แต่มันต้องลงมือทำต้องคิดต่อ สังเคราะห์ต่อ ทดลองต่อ อันนี้เป็นกฏพื้นฐานของคนคิดจะเดินเส้นทางนี้ ต้องยอมรับ เป้าหมายหลักการเขียนบทความแนวนี้ ผมเขียนผมอยากให้เกิดการกระตุ้น การคิดการต่อยอด จริงๆ ผมอยากทำให้เหมือ่นพี่ต้าน มัดเล่ย์ ที่เคยนะเสนอโมเดล KZM เมื่อหลายปีก่อน โยนอะไรใหม่ๆออกมาให้คนอยากทำต่อ คิดต่อ ผมว่ามันเจ๋งดี กริด KZM จริงๆไม่ซับซ้อน ตั้งสติศึกษา ลองทำจะเข้าใจไม่ยาก แต่ข้อจำกัดมันมีเช่นกัน  ทำให้มองผิวเผิน ไม่เคยทำ ไม่เคยออกแบบ คนจำนวนไม่น้อยเลย คิดว่าไม่เวริ์ค ผมนี้แหละเคยได้ยินเหล่าเทพ เหล่าเซียน บอกเสียงดังมาแล้วว่าใช้ไม่ได้จริง!!! แต่อยากจะบอกว่า บางทีการไม่ได้โดดไปศึกษา ไปเล่นมันก็ทำให้ ไม่เข้าใจและมองไม่เ